โควิด-19 เป็นโรคระบาดที่ยังคงมีผู้ติดเชื้ออยู่จำนวนมากในปัจจุบัน การทำ Home Isolation สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการรุนแรง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประคับประคองระบบสาธารณสุข ซึ่งการทำ Home Isolation นั้นมีเรื่องที่ต้องเตรียมพร้อมหลายอย่าง เช่น สถานที่แยกกักตัวต่างหาก อาหาร น้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้วและที่สำคัญต้องให้แพทย์สามารถติดตามการรักษาได้ จึงต้องมีระบบการดูแลผู้ป่วยทางไกลหรือ telemedicine ขึ้นมา
บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้านสุขภาพและการแพทย์ออนไลน์จึงได้จัดทำระบบ HI / CI Telemedicine หรือ Dietz Telemedicine สำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทางไกลขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในช่วงวิกฤตินี้ ซึ่งระบบแพทย์ทางไกลที่ไดเอทซ์ได้เปิดให้บริการนั้นได้กระแสตอบรับที่ดีมากยิ่งในโรงพยาบาลสนามและการรักษาแบบ Home Isolation
เนื่องจากระบบดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกในการดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการดูแลผ่านไลน์และบันทึกลงกระดาษแบบที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการพูดคุยและสื่อสารกับคนไข้ ด้วยแชท (Chat) และวีดีโอคอล (VDO Call) กับบุคลากรทางการแพทย์พร้อมทั้งบันทึกอาการผ่านระบบที่ทางไดเอทซ์ได้พัฒนาขึ้นมา วันนี้เราจึงจะมาบอกเล่าวิธีเอาตัวรอดและช่วยเหลือตนเองสำหรับภาวะโควิด-19 โดยแพลตฟอร์มไดเอทซ์
Home isolation คือการกักตัวอยู่ที่พักเพื่อติดตามอาการสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างและแบ่งเบาภาระทางด้านนระบบสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันเวลา
ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ มากมายที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 รักษาอาการได้ที่บ้าน อาทิ แอปพลิเคชันคุยกับหมอออนไลน์ แอปพลิเคชันปรึกษาเภสัชกรออนไลน์พร้อมสั่งซื้อยา รวมไปถึงระบบ Dietz Telemedicine ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถรักษาที่บ้านได้ในช่วงวิกฤติการณ์โรคร้ายนี้ที่ทำให้หลาย ๆ โรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยจะต้องทำการลงทะเบียนกับโรงพยาบาลต้นสังกัดที่มีระบบ Dietz Telemedicine เพื่อที่จะทำการรักษาแบบ Home Isolation ซึ่งภายในระบบนี้จะมีฟีเจอร์ไว้สำหรับช่วยเหลือในการรักษาและประเมินอาการโควิด-19 ได้ดังนี้
โรงพยาบาลที่จะทำการใช้ระบบ Dietz Telemedicine ของทางไดเอทซ์ได้นั้นจะต้องมีอุปกรณ์ที่พร้อม เพื่อที่จะทำการรักษาทางไกลให้แก่คนไข้ได้อย่างเต็มระบบและมีประสิทธิภาพ เช่น คอมพิวเตอร์/แล็บท็อป, ไมโครโฟน และเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมการใช้งานระบบแพทย์ทางไกลของไดเอทซ์ โดยฟีเจอร์ของระบบ Dietz Telemedicine มีดังนี้
ต่อจากนี้จะหมดปัญหาเรื่องเตียงไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เพราะทาง ไดเอทซ์ (Dietz) ได้นำระบบ Dietz Telemedicine การรักษาแพทย์ทางไกลมาให้โรงพยาบาลรัฐได้ใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในส่วนโรงพยาบาลเอกชนทางบริษัทจะคิดเฉพาะค่าบริการในการติดตั้งระบบติดตามอาการคนไข้ตามจำนวน
ไดเอทซ์พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ทุกท่านให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ โดยไดเอทซ์ได้เปิดให้โรงพยาบาลรัฐใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโรงพยาบาลเอกชนทีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าบริการในการติดตั้งระบบตามจำนวนผู้ป่วย พร้อมติดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 วัน ขณะนี้มีโรงพยาบาลมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมระบบ telemedicine แล้ว และไดเอทซ์ยังคงมุ่งหน้าต่อไปที่จะเป็นสื่อกลางที่ดีในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป